Translate

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

คำศัพท์ทางกายวิภาค(anatomical terminology)


Anatomical position

ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์มีความลำบากในการกำหนดชื่อในตำแหน่งต่างๆ จึงทำให้มีการกำหนดท่ามาตรฐานในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ขึ้นเรียกว่าanatomical position โดยการยืนหน้าตรง ฝ่ามือผายออกข้างหน้าทั้งสองข้าง ยืนขาชิดในท่าที่สบายๆ การยืนในท่านี้จะเป็นตัวกำหนดว่าอวัยวะส่วนไหนอยู่หลังกว่า หน้ากว่า ใกล้ตัวมากกว่า หรือไกลตัวมากกว่า ทำให้ง่ายต่อการศึกษา






Anatomical Plane

สามารถใช้แผ่นหรือเพลนในการแบ่งร่างกายได้4 หรือ5เพลน(แล้วแต่ตำรา)
1.median plane แบ่งร่างกายในแนวตั้งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน หรือสามารถเรียกเป็นmidsagittal planeได้ แต่จะมีอีกหนึ่งเพลนที่เป็นแนวขนานกับ median planeแต่ไม่ได้ผ่านตรงกลาง โดยทั่วไปจะเรียกว่าsagittal planeหรือจะเรียกว่าparasagital plane ได้เช่นกัน
2.frontal/coronal plane เพลนนี้มีสองชื่อเรียกแบบไหนก็ได้ แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนหน้ากับส่วนหลัง
3.horizontal/transverse/axial plane ส่วนเพลนนี้เยอะหน่อยมี3ชื่อด้วยกัน แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนบนและส่วนร่าง
4.oblique plane เป็นเพลนแบบเฉียง




 

การเปรียบเทียบ(Relative  Location)


  • Cranial =หัว                             Caudal *=ใกล้ทางก้นกบ               
  • Posterior/Dorsal = ข้างหลัง     Anterior /ventral =ข้างหน้า
  • Superoir =ข้างบน                     Inferoir = ข้างล่าง
  • Medial =ใกล้middle line*        Lateral =ไกลออกไปจากmiddle line
  • Proximial* =ใกล้แกนกลาง      Distal* =ไกลแกนกลาง
ตัวอย่าง ฝ่ามืออยู่distalกว่าข้อศอก  

*  โดยรากศัพท์แล้วcaudal(ควาดอล)แปลว่าหาง
*  middle line คือเส้น สมมติที่ผ่านกลางลำตัวพอดี
*  โดยทั่วไปแล้วคำว่าproximal และ distal จะใช้กับระยางค์



การเคลื่อนไหว(General movements)

เป็นการเครื่อนที่โดยธรรมชาติของมนุษย์ มีความจำเป็นมากในการวินิจฉัยโรค และการศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อ



ช่องภายในลำตัว(Body Cavity)............











กายวิภาคศาสตร์(Introduction of anatomy)

     

วิชากายวิภาคศาสตร์หรือเรียกกันคุ้นหูว่าอนาโตมี(Anatomy)เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ซึงมีความจำเป็นอย่างมากกับนักศึกษาที่ศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะอนาโตมีถือเป็นวิชาพื้นฐานของทุกวิชาที่จะเรียนต่อไป ร่างการมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนและเป็นความลับ ซึ้งมีคนมากมายพยายามจะคลี่คลายความลับนั้นในหลายร้อยปีที่แล้วประมาณ1600BC(ก่อนคริสตศักราช) มีทั้งคนวินบ้างและเฟลบ้างตามๆกัน มีการศึกษาจากนักวิทยทยาศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกแต่ส่วนมากสมัยนั้นจะใช้การมโนเอาซะมากกว่าเพราะว่าไม่สามารถชำแหละศพได้ ถ้าคุณไปชำแหละศพแม้กระทั่งศพหมาในสมัยนั้นคุณอาจจะถูกมองว่าเป็นคนบ้าและถูกนำไปประหารเอาได้ แต่ต่อๆมาก็ได้มีการใช้สัตว์มาผ่าเพื่อศึกษาซึ่งนั่นทำให้กายวิภาคศาสตร์ถูกต้องขึ้นมาบ้างแล้ว จนถึงสมัยต้น4BC การศึกษากายวิภาคศาสตร์ถือกำเนิดขึ้นอย่างจริงจังที่ประเทศอียิปต์ และเริ่มเป็นที่แพร่หลายจากการศึกษาของฮิปโปเครติส(Hippocrates) ซึ้งเป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวกรีกหรือที่รู้จักกันดีในนามของ "บิดาแห่งการแพทย์" กลายเป็นผู้ที่วินที่สุุดในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในสมัยนั้น และอริสโตเติล(Aristotle)คือคนที่เรียกการศึกษานี้ว่า "anatome"แปลว่าการตัดซึ้งตรงกับภาษาละตินคำว่า dissecare หรือ dissect ที่แปลว่าการฉำแหละ การศึกษากายวิภาคศาสตร์ได้เริ่มต้นศึกษาอย่างลึกซึ้งและได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาตร์
สาขาของกายวิภาคศาสตร์
Microscopic Anatomy
     เป็นการศึกษาที่จำเป็นต้องศึกษาผ่านกล้องจุลทัศน์ซึ้งมีอยู่ด้วยกัน3ชนิดคือ กล้องจุลทัศน์แบบใช้แสง(light microscope) กล้องจุลทัศน์สเตอริโอ(steeo microscope) และกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอน(electron microscope) การศึกษานี้แบ่งเป็น2สาขาคือ
-เนื้อเยื่อวิทยา(histology) 
-เซลล์วิทยา(cytology)
Gross Anatomy
     การศึกษาโครงสร้างต่างๆที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าซึ้งแบ่งออกเป้น3แขนง
-surface anatomy เป็นการศึกษาภายนอกร่างกายไม่มีการการตัดหรือผ่าชิ้นส่วนใด การศึกษานี้สำคัญกับการวินิจฉัยโรคอย่างมาก
-regional anatomy ศึกษาโดยการแบ่งร่างกายออกเป็นส่วนต่างๆรวมถึงการศึกษาร่างกายในภาคตัดขวาง(topographic anatomy)
1.ทรวงอก(Thorax)
2.ท้อง(Abdomen)
3.เชิงกราน(Pelvic)
4.หลัง(Back)
5.ระยาค์บน(Upper limb)
6.รายาค์ล่าง(Lower limb)
7.ศีรษะและคอ(Head and Neck)
ในหนังสือกายวิภาคศาสตร์ของต่างประเทศ(anatomy textbook)ส่วนมากจะจัดเรียงเนื้อหาแบบregional anatomy
-systemic anatomy
ศึกษาโดยแบ่งร่างกายออกเป็นเป็นระบบต่างตามหน้าที่และการทำงาน โดยแบ่งอกเป็น11ระบบ
1.Integumentary (ระบบปกคลุมร่าง)
2.Muscular (ระบบกล้ามเนื้อ)
3.skeleton(ระบบกระดูก)
4.nervous(ระบบประสาท)
5.endocrine(ระบบภูมิคุ้มกัน)
6.cardiovascular(ระบบไหลเวียนโลหิต)
7.lymphatic(ระบบน้ำเหลือง)
8.Respiratory(ระบบหายใจ)
9.Digestive system(ระบบย่อยอาหาร)
10.Urinary(ระบบขับถ่าย)
11.reproductive(ระบบสืบพันธุ์)
Clinical Anatomy
เน้นความสำคัญทางคลินิก และจำเป็นต้องนำเทคนิคต่างๆมาช่วยในการศึกษาเช่นรังสีวิทยา ส่วนมากจะศึกษาเป็นกรณีศึกษา(case study)
Radiological Anatomy
เป็นการศึกษาโครงสร้างของร่างการโดยนำเทคนิคทางด้านรังสีวิทยาเข้าช่วย นับว่ามีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคในปัจจุบันอย่างมาก
Developmental Anatomy
เป็นการศึกษาพัฒนาการในด้านต่างๆของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Embryology

แนะนำหนังสือ text อนาโตมี (anatomy text book)

          เมื่อเช้ามีเพื่อนที่เรียนพยาบาลบอกว่าอาทิตย์หน้าจะเริ่มเรียนอนาโตมีแล้วพอจะมีไฟล์ที่เกี่ยวกับอนาโตมีบ้างรึเปล่าเพราะว่ากังวลมากเลยที่ไม่ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่จริงๆ เราหาไฟล์ส่งให้เพื่อนแต่บอกตรงๆเลยว่าจะหาไฟล์ภาษาไทยดีๆหรือไฟล์ที่สมบูรณ์ส่งให้มันยากมาก เราต้องมานั้งรวมรูปแล้วก็วีดีโอเองดึงจากเว็ปนั้นบ้างเว็ปนี้บ้างด้วยความที่ให้เพื่อนดูแล้วเข้าใจมากที่สุด และพอภาพมันรวมกันมากๆก็เกิดปัญหาอีกว่าจะเริ่มดูอันไหนก่อนมีคอนเซ็ปยังไงในการดู อยากอธิบายมันทุกภาพทุกวีดีโอเลยเพราะเข้าใจว่าถ้าไม่ได้ภาษาอังกฤษมันก็ลำบากเหมือนกันแถมภาพบางภาพดูเฉยๆบางคนมองไม่ออกด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร เลยคิดว่าโอเคถ้าเราจะต้องมานั่งอธิบายทุกภาพงั้นก็เปิดบร๊อกเลยแล้วกันเผื่อว่าคนอื่นจะได้มาดูด้วยเพราะหลายคนก็เจอเหมือนๆกันคือหนังสือภาษาไทยไม่ได้ช่วยอะไรเลย หนังสือtextก็แพงแถมเป็นภาษาอังกฤษอีกต่างห่าง หนักกว่าคือบางสาขาวิชาไม่ได้เจอกับร่างอาจารย์ใหญ่จริง ซึ้งนั้นทำให้การมองภาพยากเข้าไปใหญ่
          แต่ว่าขอบอกก่อนนะว่าเราไม่ใช่อาจารย์ เพราะฉนั้นอาจจะมีเนื้อหาบางตอนไม่ถูกต้องอันนี้สามารถแจ้งให้แก้ไขได้นะจ๊ะ อิอิ แต่จะพยายามทำให้เนื้อหามันครบถ้วนที่สุด และการบรรยายจะเป็นภาษาไทยแต่ศัพท์เฉพาะอาจจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่เราขอเตือนทุกคนที่มาอ่านก่อนนะว่าการจำคำศัพท์ต่างๆให้จำเป็นภาษาอังกฤษจะดีกว่า จะทำให้การดูรูปง่ายและอีกอย่างจะทำให้ไปอ่านในtextรู้เรื่อง

          สุดท้ายนี้ฝากไว้..........ตั้งใจเรียนในห้อง เข้าแล็ปอย่าถือหนังสือแต่ให้ลงมือทำ มาทบทวน แล้วอ่านอีกรอบในหลายๆเล่ม(หรือหลายรอบ)นั่นคือเคร็ดลับในการเรียนอนาโตมี จำไม่จำก็ต้องจำมันคือคำขาดเพราะชีวิตใครหลายคนมันขึ้นอยู่กับความรู้ของเราใช่หรือไม่? เพราะวิชาอนาโตมีเป็นพื้นฐานที่ต้องเรียนดังนั้นเลยเป็นวิชาแรกที่ได้เรียนในบรรดาวิชาหมอ

แนะนำtextอนาโตมี


YOKOCHI
เล่มนี้เป็น atlas หมายถึงไม่มีเนื้อหาบรรยายละเอียดเวิ้นเว้อแต่จะเป็นรูปภาพแล้วก็มีชื่อชี้ให้เลย แต่สำหรับเล่มนี้เป็นรูปจริง(รูปถ่าย)รูปสวยแต่จะแยกค่อนข้างยากมีรูปวาดบ้างเล็กน้อย(น้อยมาก)เพื่อประกอบคำบรรยาย และไม่ได้มีชื่อชี้โดยตรงจะเป็นหมายเลขและไปเทียบกับคำศัพท์ด้านข้าง ทำให้ดุค่อนข้างยาก จะเหมาะมากสำหรับใช้ในตอนที่ต้องลงมือผ่าร่างเอง ข้างในเป็นแบบข้างล่างเลย ราคาแล้วศูนย์หนังสือเขาจะขายราคาไม่เท่ากัน หาซื้อได้ที่pb for book ที่คณะเภสัสมหิดล หรือศูนย์หนังสือจุฬา ศูนย์หนังสือสองที่นี้น่าจะมีหนังสือtextที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์เยอะทีสุดแล้วเท่าที่เห็น

















GRAY'S ANATOMY
เล่มนี้มีคำบรรยายด้วย เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ของgray'sเองก็มีแบบatlasจะเป็นเล่มสีแดง (เรายังไม่เคยดูยังไม่ขอแนะนำแล้วกัน) แต่เล่มนี้รูปจะมีสีค่อนข้างซอร์ฟ(รูปวาด) และเนื้อหาครบถ้วนดี อ่านเข้าใจได้ง่าย














NETTER
เป็น atlas อีกหนึ่งเล่ม มีคำบรรยายเกี่ยวกับคำศัพท์ในภาพเล็กน้อย ไม่มีบรรยายละเอียด คำศัพท์ชี้กับรูปภาพโดยตรงทำให้ดูง่าย ภาพเป็นภาพวาดที่สีสันค่อนข้างฉูดฉาดอย่างที่เห็น มีบางคนกล่าวไว้ขำๆว่า netter ทำให้มองภาพจริงไม่ออก แต่ว่า
ตอนอ่านทำให้จำได้ง่ายนะจริงๆนะ














 GRANT'S
เล่มนี้ก็เป็น atlas อีกแล้วมีคำบรรยายอยู่บ้างเล็กน้อย คล้ายnetter ภาพเป็นภาพวาดเหมือนกันแต่ค่อนข้างเหมือนจริงกว่า เราเองใช้เล่มนี้อยู่ ขนาดเล่มหนามาก













ปล.ทุกเล่มมีให้โหลดถ้าไม่อยากเสียเงินก็หาโหลดเอาได้นะ เดี๋ยวโอกาศหน้าจะเอาลิงค์มาแปะให้