Anatomical position
ในการศึกษากายวิภาคศาสตร์มีความลำบากในการกำหนดชื่อในตำแหน่งต่างๆ จึงทำให้มีการกำหนดท่ามาตรฐานในการศึกษากายวิภาคศาสตร์ขึ้นเรียกว่าanatomical position โดยการยืนหน้าตรง ฝ่ามือผายออกข้างหน้าทั้งสองข้าง ยืนขาชิดในท่าที่สบายๆ การยืนในท่านี้จะเป็นตัวกำหนดว่าอวัยวะส่วนไหนอยู่หลังกว่า หน้ากว่า ใกล้ตัวมากกว่า หรือไกลตัวมากกว่า ทำให้ง่ายต่อการศึกษา
Anatomical Plane
สามารถใช้แผ่นหรือเพลนในการแบ่งร่างกายได้4 หรือ5เพลน(แล้วแต่ตำรา)
1.median plane แบ่งร่างกายในแนวตั้งออกเป็นสองส่วนเท่ากัน หรือสามารถเรียกเป็นmidsagittal planeได้ แต่จะมีอีกหนึ่งเพลนที่เป็นแนวขนานกับ median planeแต่ไม่ได้ผ่านตรงกลาง โดยทั่วไปจะเรียกว่าsagittal planeหรือจะเรียกว่าparasagital plane ได้เช่นกัน
2.frontal/coronal plane เพลนนี้มีสองชื่อเรียกแบบไหนก็ได้ แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนหน้ากับส่วนหลัง
3.horizontal/transverse/axial plane ส่วนเพลนนี้เยอะหน่อยมี3ชื่อด้วยกัน แบ่งร่างกายออกเป็นส่วนบนและส่วนร่าง
4.oblique plane เป็นเพลนแบบเฉียง
การเปรียบเทียบ(Relative Location)
- Cranial =หัว Caudal *=ใกล้ทางก้นกบ
- Posterior/Dorsal = ข้างหลัง Anterior /ventral =ข้างหน้า
- Superoir =ข้างบน Inferoir = ข้างล่าง
- Medial =ใกล้middle line* Lateral =ไกลออกไปจากmiddle line
- Proximial* =ใกล้แกนกลาง Distal* =ไกลแกนกลาง
ตัวอย่าง ฝ่ามืออยู่distalกว่าข้อศอก
* โดยรากศัพท์แล้วcaudal(ควาดอล)แปลว่าหาง
* middle line คือเส้น สมมติที่ผ่านกลางลำตัวพอดี
* โดยทั่วไปแล้วคำว่าproximal และ distal จะใช้กับระยางค์
การเคลื่อนไหว(General movements)
เป็นการเครื่อนที่โดยธรรมชาติของมนุษย์ มีความจำเป็นมากในการวินิจฉัยโรค และการศึกษาเรื่องกล้ามเนื้อ
ช่องภายในลำตัว(Body Cavity)............